Exhibition โรงเรียนบ้านปลาดาว
ส่งเสริมพัฒนาทักษะและสมรรถนะผู้เรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษาที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีทักษะในศตวรรษที่ 21 อย่างยั่งยืน พัฒนาทักษะและสมรรถนะที่สำคัญของนักเรียนผ่าน 3 นวัตกรรมการสอน
นวัตกรรมบ้านปลาดาว 3R มุ่งเน้นให้เด็กอ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น โดยผ่านกระบวนการสอนแบบ Active Learning
Project Based Learning (PBL) การเรียนรู้แบบโครงการ โดยเริ่มจากสิ่งที่นักเรียนสนใจเป็นหลัก และต่อยอดการเรียนรู้ ด้วยการลงมือทำผ่านกิจกรรม ด้วยกระบวนการ EDICRA
Starfish Maker พื้นที่สำหรับนักสร้างสรรค์ เปิดโอกาสให้นักเรียนได้สร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ตามความสนใจ และความถนัดเฉพาะด้านของตนเอง โดยใช้ ‘STEAM Design Process’ เป็นหัวใจของกระบวนการเรียนรู้
Key takeaway : พัฒนาทักษะและสมรรถนะที่สำคัญของนักเรียนผ่าน 3 นวัตกรรมการสอน
Exhibition โรงเรียนร่มเกล้า จังหวัดกาญจนบุรี
“ได้พัฒนานวัตกรรมที่มีชื่อว่า PAORE เป็นนวัตกรรมการนิเทศ เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ Active Learning สู่การพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน เพื่อให้นักเรียนเป็นคนเก่ง คนดีและมีความสุข มีการนิเทศกำกับติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง” นวัตกรรม PAORE
P วางแผนการนิเทศ (Plan) ประชุมครูผู้บริหาร เพื่อวางแผนในการมทำงานเพื่อไปสู่เป้าหมาย
A ลงมือปฏิบัติงาน (Action) มีการนิเทศ 3 รอบ โดยรอบที่ 1 นิเทศเดือนที่ 1 / รอบที่ 2 นิเทศเดือนที่ 2/ รอบที่ 3 นิเทศเดือนที่ 3 ต่อ 1 ภาคเรียน โดยการใช้ PLC ที่แตกต่างจากโรงเรียน โดยคุณครูจะรวมกลุ่มครูที่สามารถเป็นทีมเดียวกันได้ สามารถช่วยเหลือซึ่งกันได้ ซึ่งระบบ PLC ของโรงเรียนจะมี 2 ระดับ ได้แก่ ระดับโรงเรียน จะมีเดือนละ 1 ครั้ง และระดับชั้นเรียนจะมีทุกสัปดาห์ โดยคุณครูจะมีการวิเคราะห์แผนการสอน วิเคราะห์สื่อ ซึ่งในแต่ละกลุ่ม PLC จะมีโมเดลการทำ PLC เป็นของตัวเอง (รวมเป็น 11 โมเดล)
O การสังเกตตามแผน (Observe) การสังเกตการสอนรอบที่ 1 มีคุณครูที่อยู่ในวง PLC เดียวกันเข้าไปสังเกตการณ์สอนของเพื่อน / รอบที่ 2 คุณครูหัวหน้ากลุ่มสาระจะเป็นผู้สังเกตการณ์ / รอบที่ 3 เป็นคณะกรรมการ เช่น ผู้บริหาร คุณครูหัวหน้ากลุ่มสาระ และคุณครูต่างกลุ่มสาระ และในแต่ละครั้งจะมีการสรุปผลออกมา
R การสะท้อนผล (Reflect) การสะท้อนผลจะมีการสะท้อนในกลุ่ม PLC วงเล็ก และมีการสะท้อนในกลุ่มใหญ่ (SLC)
E การประเมินผลการนิเทศ (Evaluation) จัดทำ SAR รายงานประจำปี
Key takeaway : นวัตกรรม PAORE เป็นนวัตกรรมการนิเทศ ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ Active Learning สู่การพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน
Exhibition โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 60 จากจังหวัดเชียงใหม่
“นิทรรศการการนำหลักสูตรฐานสมรรถนะในระดับชั้นประถมศึกษา เพื่อให้นักเรียนนักเรียนมีทักษะอาชีพ จึงได้นำเสนอผ่านการทำข้าวกล้อง และกระเป๋าผ้ามาจำหน่าย”
ซึ่งผลงานในครั้งนี้ได้ใช้นวัตกรรมที่เรียกว่า “เด็กดอยโมเดล”
D - Driven การขับเคลื่อนองค์กร เป็นพื้นที่นวัตกรรมที่ทันสมัย โดยส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะการดำรงชีวิต กีฬา อาชีพ ควบคู่ไปกับคุณธรรม “Driven Innovation Space with Morality”
E - Execute ดำเนินการให้ผู้บริหาร ครู นักเรียนเป็นนวัตกรมืออาชีพ มีหลักสูตรบูรณาการเหมาะสมกับผู้เรียน สร้างแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนที่หลากหลาย ใช้เทคโนโลยีทันสมัย เรียนรู้ตามความถนัดและสนใจจากท้องถิ่น และวัฒนธรรมชาติพันธุ์
K - Knowledge การพัฒนาความรู้ในสถานศึกษา สร้างให้ผู้เรียนเป็นนวัตกรน้อย มีพัฒนาการในทุกๆ ด้าน อย่างมีคุณภาพ และพัฒนาให้โรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างแท้จริง
D - Develop การพัฒนาผลงานนวัตกรรมเป็นที่ประจักษ์ และปฏิบัติงานโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ ส่งผลต่อการประกันคุณภาพการศึกษาทั้งภายในและภายนอกอย่างมีประสิทธิภาพ
O - Opportunity เปิดโอกาสให้คณะร่วมกันตัดสินใจ ตรวจสอบการปฏิบัติงาน ตลอดจนการดำเนินงาน เพื่อแก้ไขปัญหากิจกรรมต่างๆ ในสถานศึกษา
I = Improve การปรับปรุงแนวคิด วิธีการ และขั้นในการทำงานใหม่ๆ ในการพัฒนาระบบให้มีประสิทธิภาพ และนำไปสู่เป้าหมายที่กำหนดร่วมกัน
Key takeaway: นวัตกรรมการบริหารหลักสูตรฐานสมรรถนะ เพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพให้นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ช่วยทำให้นักเรียนมีรายได้ และได้ฝึกระบวนการคิด”
Exhibition โรงเรียนวัดโสมนัส จากกรุงเทพมหานคร
นวัตกรรมการบริหารจัดการสถานศึกษาสู่การประกันคุณภาพภายในอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่สร้างพลเมืองดี มีทักษะอาชีพ นวัตกรรมที่สร้างพลเมืองดี ส่งเสริมทักษะอาชีพให้แก่ผู้เรียน จึงได้นำผลงานของนักเรียนได้แก่ ร้านละอ่อน คาเฟ่ และจำหน่ายชิฟฟ่อนที่นักเรียนทำเองในงานปีนี้ด้วย
ซึ่งในบูธนิทรรศการได้มาแลกเปลี่ยนกระบวนการพัฒนาผลงาน / นวัตกรรม
1.น้อมนำพระบรมราโชบายการพัฒนาการศึกษาในการสร้างพลเมืองดี สู่สังคม
2.เข้าระบบประกันคุณภาพภายใน P (Plan) / D (Do) / C (Check) / A (Act)
S = Smart Sommanas ผู้บริหาร ครู มีสมรรถนะตามมาตรฐาน มีทักษะส่งเสริมพัฒนาให้ผู้เรียนมีทักษะ สร้างจิตสำนึกความรับผิดชอบให้สอดคล้องตามความต้องการกับบริบทชุมชน
P = PLC to Teach สร้างทัศนคติที่ดี ส่งเสริม พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เป็นผู้มีคุณธรรม เพื่อเป็นต้นแบบให้ผู้เรียน มีอุดมการณ์ปลูกฝังทัศนคติด้านการมีคุณธรรม
I = Individual focus สร้างเอกลักษณ์ให้ผู้เรียนเป็นรายบุคคล
R = Research to share สร้างงานวิจัยและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนครู
I = Implement Skill ทักษะที่จะเกิดขึ้นในตัวของนักเรียนเพื่อเป็นการสร้างอาชีพให้นักเรียน
T = Team Corporate การมีส่วนร่วม
3.การประเมินผลเพื่อการปรับปรุง โดยประเมิน 5 ด้าน 1) ด้านทักษะกระบวนการคิด 2) ด้านวินัย 3) ด้านความซื่อสัตย์ 4) ด้านความพอเพียง 5) ด้านจิตสาธารณะ
Key Takeaway : นวัตกรรมการบริหารจัดการสถานศึกษาสู่การประกันคุณภาพภายในอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่สร้างพลเมืองดี มีทักษะอาชีพ
Comentarios