top of page

นวัตกรรม คุยกันสองภาษา (AI Translator เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านสำหรับนักเรียนชาติพันธ์ุ)



โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 60 จังหวัดเชียงใหม่ โดย

นายชูชีพ มูลสถาน ตำแหน่ง ครู

นางสาวกัณฐิกา ทรายคำ ตำแหน่ง ครู 

นางมณีกานต์ ธรรมไทสง ตำแหน่ง ครู


ประเด็นที่1 เป้าหมายแรงจูงใจในการสร้างนวัตกรรม

นักเรียนโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 60 จังหวัดเชียงใหม่ เปิดเรียนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - มัธยมศึกษาปีที่ 6 ส่วนใหญ่เป็นนักเรียนชาติพันธ์ุ ได้แก่ ม้ง กะเหรี่ยง อาข่า ลีซอ มีปัญหาทักษะการอ่านออกเขียนได้ ครูและนักเรียนจึงร่วมกันสร้างโปรแกรมคุยกันสองภาษาขึ้นมาเพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่าน

ประเด็นที่2 ไอเดียการพัฒนา กระบวนการพัฒนามีลำดับขั้นตอนใดบ้าง

การเรียนรู้ AI Translator เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านสำหรับนักเรียนชาติพันธ์ุ โดยเข้าสู่ระบบ www.tlll.org เป็นการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม การยอมรับความแตกต่างของบุคคล การใช้ทักษะในยุคดิจิทัล และสร้างนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้

ประเด็นที่3 ผลลัพธ์/ประโยชน์ Feedback ผลจากผู้ใช้นวัตกรรม 

คุณครูรวมกันทำงานเป็นทีมเพื่อสร้างการเรียนรู้ AI Translator เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านสำหรับนักเรียนชาติพันธ์ุ ส่งผลให้นักเรียนระดับประถมศึกษาเรียนในรายวิชาบูรณาการทดลองใช้โปรแกรมคุยกันสองภาษา บรรลุเป้าหมายร้อยละ 100 พร้อมทั้งสื่อสารได้หลากหลายภาษาของชาติพันธุ์ 

ประเด็นที่4 แนวทางการพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมในอนาคต

แนวทางการพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมในอนาคต จะมีการเพิ่มบทเรียน และคำศัพท์มากยิ่งขึ้น รวมถึงการสื่อสารภาษาต่างประเทศ


ภาพผลงานหรือนวัตกรรม

รูปขณะใช้นวัตกรรม 

รูปเจ้าของผลงาน


ดู 52 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page