top of page

นวัตกรรม “โรงเรียนนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้”


โรงเรียน ดรุณสิกขาลัย โรงเรียนนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้

1.ชื่อนวัตกรรม เครื่องบินบังคับเพื่อการปลูกป่าโกงกาง

โดย ด.ช.สฬสีห์ ก่อกิจสัมมากุล 

ครูที่ปรึกษา ครูอิทธิชัย รัตนถาวร 


ประเด็นที่ 1 เป้าหมายแรงจูงใจในการสร้างนวัตกรรม 

ภาวะโลกร้อนคือปรากฏการที่ทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้นและทำสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากโลกไม่สามารถระบายความร้อนได้ซึ่งหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดโลกร้อนเกิดจากการที่มนุษย์ได้เพิ่มปริมาณก๊าซเรือนกระจก จากการเผาไหม้เชื้อเพลิงต่างๆ การขนส่ง การผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมฯลฯ ภาวะโลกร้อนยังส่งผลกระทบต่อโลกทำให้อุณหภูมิของโลกเพิ่มสูงขึ้นซึ่งทำให้อุณหภูมิน้ำทะเลร้อนขึ้นทำให้น้ำแข็ง ที่ขั้วโลกละลายและทำให้สภาพอากาศแปลปรวนจากปัญหาที่กล่าวมาข้างต้นทำให้ปัญหาภาวะโลกร้อนควรที่จะได้รับการแก้ไขโดยการแก้ปัญหาโลกร้อนสามารถทำได้หลายวิธีไม่ว่าจะเป็นการแยกขยะ ลดการสร้างขยะ ลดการใช้รถยนต์สันดาป ปลูกต้นไม้ ฯลฯ การปลูกป่าชายเลนก็เป็นการช่วยลดโลกร้อนด้วยเหมือนกันแถมยังมีประโยชน์อีกหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นแนวป้องกันการกัดเซาะของน้ำทะเล ช่วยดูดซับน้ำเสียจากบ้านเรือน และยังเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์และพืชหลายชนิดแต่การปลูกป่าชายเลนอาจเป็นเรื่องยากและเสียเวลาเนื่องจากการปลูกป่าชายเลนนั้นจะต้องนำฝักโกงกางไปปักในโคลนทำให้เสียเวลาเป็นอย่างมากและทำให้เลอะเทอะอีกด้วย ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาผู้จัดทำจึงต้องการที่จะสร้างเครื่องบินบังคับวิทยุเพื่อนำไปปลูกป่าชายเลนและทำให้การปลูกป่าชายเลนเป็นเรื่องง่ายและรวดเร็ว

ประเด็นที่ 2 ไอเดียการพัฒนา กระบวนการพัฒนามีลำดับขั้นตอนใดบ้าง

โครงงานเรื่อง “เครื่องบินบังคับเผื่อการปลูกป่าชายเลน” มีแผนการดังนี้ 

  • สัปดาห์ที่ 1-2 ออกแบบภาชนะสำหรับใส่ฝักต้นโกงกาง

  • สัปดาห์ที่ 3-4 สร้างเครื่องบินบังคับ

  • สัปดาห์ที่ 5 สร้างภาชนะสำหรับใส่ฝักต้นโกงกาง

  • สัปดาห์ที่ 6 ทัศนศึกษาตามบ้านเรียน

  • สัปดาห์ที่ 7 สร้างกลไกการเปิดปิดของภาชนะ

  • สัปดาห์ที่ 8 เชื่อมต่อวงจรทั้งหมด

  • สัปดาห์ที่ 9-10 ทดสอบและแก้ไข

  • สัปดาห์ที่ 11 นำเสนอผลงานรอบวิชาการ (Academic Presentation)

  • สัปดาห์ที่ 12 นำเสนอผลงานรอบแฟร์บูธ (Fair Booth Exhibition)

ประเด็นที่ 3 ผลลัพธ์/ประโยชน์ Feedback ผลจากผู้ใช้นวัตกรรม

  • จากการดําเนินโครงงานเรื่อง เครื่องบินบังคับเพื่อการปลูกป่าโกงกาง เพื่อศึกษาเกี่ยวกับป่าชายเลน เพื่อศึกษาเกี่ยวกับต้นโกงกาง และเพื่อศึกษาการปลูกป่าทางอากาศ ผู้จัดทําได้เรียนรู้สึ่งต่างๆมากมายจากการสร้างเครื่องบินไม่ว่าจะเป็น กฎการบิน ทฤษฎีการบิน ขั้นตอนต่างๆในการสร้างเครื่องบิน การใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น ลวดความร้อนในการสร้างปีก และ คัตเตอร์ความรอบคอบและความละเอียดในการทํางาน

ประเด็นที่ 4 แนวทางการพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมในอนาคต

การสร้างเครื่องบินในครั้งนี้ สร้างมาโดยมีปีกที่บางเกินไปและยังไม่มีการพัฒนาศึกษาการเติบโตของโกงกางจึงทําให้ไม่ทราบว่าโกงกางสามารถเจริญเติบโตได้ดีหรือไม่ หากว่ามีผู้ใดสนใจที่จะนําโครงงานนี้ไปพัฒนาและสานต่อ ผู้จัดทําโครงงานขอแนะนําให้พัฒนาให้ปีกเครื่องบินหน้าขึ้นเพื่อให้เครื่องบินมีแรงยกที่มากขึ้นและสามารถร่อนได้ดีขึ้นและศึกษาการเติบโตของโกงการหลังจากการปล่อย

กลไกการปล่อยฝักโกงกางที่ผู้จัดทําใช้คือการที่ใช้หนังยางรัดฝักโกงกางไว้กับตัวเครื่องแล้วเกี่ยวไว้กับServo แต่พอ Servo หมุนหนังยางไม่หลุดออกจาก Servo ผู้จัดทําจึงได้แก้ปัญหานี้โดยการตัด Servo arm ให้เฉียงลงเพื่อให้หนังยางหลุดออกไปได้ง่ายยิ่งขึ้น


ภาพผลงานหรือนวัตกรรม


2.ชื่อนวัตกรรม การดัดแปลงระบบขับเคลื่อนของรถจักรยาน BMX โดยใช้การขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า (Tranformation of the BMX Bike into Electric Drive)

โดย นายตฤณ ฟูจิตนิรันดร์

 ครูที่ปรึกษา นายชินภัท มงคลศิริวัฒนา


ประเด็นที่ 1 เป้าหมายแรงจูงใจในการสร้างนวัตกรรม 

ผู้เรียนต้องการที่จะศึกษาการดัดแปลงจักรยานธรรมดาให้กลายเป็นจักรยานไฟฟ้ารวมถึงต้องการศึกษาระบบไฟฟ้าที่ใช้ในการขับเคลื่อนจักรยานไฟฟ้าและศึกษาองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการทดเฟืองจักรยาน

ประเด็นที่ 2 ไอเดียการพัฒนา กระบวนการพัฒนามีลำดับขั้นตอนใดบ้าง

นักเรียนได้ศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีในปัจจุบันในการดัดแปลงยานพาหนะให้กลายเป็นระบบไฟฟ้าเพื่อหาช่องว่างทางเทคโนโลยีหรือปัญหาจากเทคโนโลยีก่อนหน้านี้เพื่อนำมาพัฒนาผลงานของตนเองนักเรียนได้นำรถจักรยานไปที่อู่และดัดแปลงตามรูปแบบที่นักเรียนได้ออกแบบไว้ด้วยการเชื่อมเหล็กหลังจากนั้นกลับมาติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าแบตเตอรี่และทดสอบประสิทธิภาพของรถจักรยานไฟฟ้า

ประเด็นที่ 3 ผลลัพธ์/ประโยชน์ Feedback ผลจากผู้ใช้นวัตกรรม

เบื้องต้นจากการนำไปใช้งานจริงจักรยานค่อนข้างทำความเร็วได้ดีในระดับหนึ่งไม่ช้าเกินไปไม่เร็วเกินไปแต่อาจจะติดที่ระยะเวลาในการใช้งานซึ่งตอนนี้อยู่ในขั้นพัฒนาและทดสอบจึงเลือกใช้แบตเตอรี่ที่มีความจุค่อนข้างต่ำหากนำไปใช้งานจริงอาจจะใช้ได้ไม่นานนัก

ประเด็นที่ 4 แนวทางการพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมในอนาคต

นักเรียนยังไม่ได้พัฒนาต่อเนื่องจากนักเรียนได้จบการพัฒนาโครงงานเพียงเท่านี้และมีเด็กนักเรียนที่สนใจชอบประดิษฐ์รถยนต์ไฟฟ้ามาทดสอบและเปลี่ยนแบตเตอรี่ให้มีขนาดใหญ่ขึ้นซึ่งก็ช่วยยืดระยะเวลาในการขับขี่ได้นานขึ้นในระดับหนึ่ง


ภาพผลงานหรือนวัตกรรม


3.ชื่อนวัตกรรม  “การสร้างโดรนสําหรับการขนส่งอาหาร”

โดย ด.ญ.ลภัสสินี ศิริดำรงค์ศักดิ์ 

ครูที่ปรึกษา อิทธิชัย รัตนถาวร


ประเด็นที่ 1 เป้าหมายแรงจูงใจในการสร้างนวัตกรรม 

ในภาคเรียนการศึกษาในครั้งนี้ผู้จัดทําได้ศึกษาเรื่องการสร้างโดรนประยุกต์ใช้กับการขนส่งอาหาร โดยในปัจจุบันมนุษย์ใช้โดรนในการทําสิ่งต่างๆ เช่น การถ่ายภาพทางอากาศ 

การสํารวจพื้นที่ต่างๆ รวมไปถึงการขนส่งอาหาร เมื่อเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติต่างๆ พื้นที่ๆมนุษย์ไม่สามารถเข้าถึงไปให้ความช่วยเหลือได้แต่ด้วยเนื่องจากศักยภาพและประโยชน์ของ

โดรนทําให้มีการทดสอบการใช้งานโดรนเพื่อการขนส่ง เช่น ไปรษณีย์ไทย ได้นําโดรนมาใช้ในการทําการทดลองจัดส่งยาและเวชภัณฑ์ให้กับผู้ติดเชื้อไวรัส Covid-19  

ประเด็นที่ 2 ไอเดียการพัฒนา กระบวนการพัฒนามีลำดับขั้นตอนใดบ้าง

นอกจากนี้ผู้จัดทําต้องการศึกษาเรื่องศาสตร์การบิน หลักการทํางานของโดรน แรงในการใช้บิน วิธีการทําโดรนเบื้องต้น วิธีการสร้างโดรนนําศาสตร์การบินประยุกต์ใช้กับการขนส่งอาหาร เรียนรู้วิธีการบังคับโดรน และนําโดรนส่งอาหารตามสถานที่ต่างๆ

ประเด็นที่ 3 ผลลัพธ์/ประโยชน์ Feedback ผลจากผู้ใช้นวัตกรรม

ผู้จัดทําได้กําหนดขอบเขตด้านเนื้อหาเพื่อศึกษาโครงงานเรื่อง“การสร้างโดรนสําหรับการขนส่งอาหาร” โดยสร้างโดรนทั้งหมด 1 ลํา สําหรับการขนส่งอาหาร โดยการทําโครงงานนี้จําเป็นที่จะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับการทํางานของโดรนเบื้องต้น การทําโดรนเบื้องต้น การประยุกต์ใช้โดรนกับการขนส่งอาหาร วิธีการนําโดรนส่งอาหารตามสถานที่ต่างๆ และวิธีการบังคับโดรน

สามารถทำการบินได้จริง แต่ยังมีน้ำหนักมากเกินไป ทำให้ความสามารถในการยกของน้อยลง 

ประเด็นที่ 4 แนวทางการพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมในอนาคต

จากโครงงานการสร้างโดรนสําหรับการขนส่งอาหาร (Autonomous drone food delivery system) มีจุดประสงค์ของการเรียนรู้หลักการทํางานของโดรน เรียนรู้วิธีการทําโดรน เพื่อเรียนรู้วิธีการประยุกต์ใช้โดรนกับการขนส่งอาหาร และเรียนรู้การบังคับโดรนเบื้องต้น ผู้จัดทําได้ลองสัมผัสประสบการณ์ทั้งหมดนี้และยังสามารถนําไปใช้ในอนาคตได้อีกด้วย โดยในด้านการสร้างกรอบโดรนเพื่อติดตั้งมอเตอร์ผู้จัดทําได้ฝึกใช้เลเซอร์คัตเตอร์ไปในตัว รวมถึงการเรียนรู้เกี่ยวกับการบัดกรีให้ผลงานออกมามีคุณภาพดังนั้นจากผลการศึกษาสามารถสรุปได้ว่าสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้คือการเรียนรู้เกี่ยวกับการสร้างโดรน แต่ยังไม่บรรลุเป้าหมายเรื่องการขนส่งอาหาร เพราะทําไม่ทัน 

หากว่ามีผู้ใดมีความสนใจที่จะนําโครงงานนี้ไปพัฒนาและสานต่อ ผู้จัดโครงงานก็ขอเสนอแนะในเรื่องการทําโดรนส่งอาหารต่อ โดยอาจทําตัวโดรน และตัวบรรทุกอาหารให้ดียิ่งขึ้น การทําโดรนให้สมมาตรให้ไม่เอียง ไม่ควรทํางานเพื่อให้รีบเสร็จ เพราะงานอาจออกมาได้ไม่ดีเท่าที่ควร ต้องตามแก้ทีหลัง และควรมีความรับผิดชอบต่องาน เพื่อให้ได้งานที่มีคุณภาพที่ดีที่สุด


ภาพผลงานหรือนวัตกรรม


ดู 17 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page