ปัจจุบันการใช้งาน Generative AI อย่าง Chat GPT เป็นที่นิยม และได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากประสิทธิภาพการทำงานที่รวดเร็ว และเมื่อเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน อย่างที่กล่าวไปข้างต้น AI จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงการศึกษาอย่างไรบ้าง เชิญแลกเปลี่ยนพร้อมกันกับ ดร. ชุติวัฒน์ สุวัตถิพงศ์ อาจารย์ประจำสำนักเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช คุณครูอัซฮา บูละ ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอไม้แก่น สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ประจำจังหวัดปัตตานี และอาจารย์โยโกะ เตรูย่า รองประธานมูลนิธิสตาร์ฟิชเอ็ดดูเคชั่น ผู้เชี่ยวชาญแต่ละท่านจะมาแชร์ไอเดีย แบ่งปันประสบการณ์อะไรบ้าง อ่านพร้อมกันผ่านหัวข้อในวันนี้ “นวัตกรรม EdTech ปฏิวัติการศึกษาในยุคดิจิทัล”
AI กับการพลิกโฉมการศึกษา
องค์ความรู้ต่างๆ เมื่อก่อน แสวงหาความรู้ต้องเข้าห้องสมุด ปัจจุบัน ChatGPT สามารถให้คำตอบได้รวดเร็วกว่า ตอบได้ 24 ชั่วโมงเสมือนมีผู้ช่วยส่วนตัว และ ChatGPT ติดอันดับการถูกค้นหา เว็บไซต์จัดอันดับ แซง Google เราให้ AI ช่วยสร้างไอเดีย เช่น โครงงานวิทยาศาสตร์ หลังจากได้ข้อมูล สามารถเอามาปรับใช้ ให้ AI เป็นเพียงแค่เครื่องมือเสนอแนะ ดังนั้นเวลาใช้ต้องมีขอบเขต ผู้บริหาร ครู ต้องมีการพูดคุย รวมถึงการตกลงกับผู้ปกครองช่วงเวลาไหนจำเป็น เพื่อให้เห็นภาพทิศทางเดียวกัน
การเปลี่ยนผ่านของครูสู่การใช้เทคโนโลยี
ครูต้องเข้าไปลองใช้งานปัญญาประดิษฐ์ โหลดเป็นแอปพลิเคชัน เริ่มต้นอาจใช้คำสั่งง่ายๆ อากาศร้อนจังเลย ควรทำอย่างไรดี ปัญญาประดิษฐ์เขาจะคุยภาษาธรรมชาติ ถ้าเราคุยกับมนุษย์รู้เรื่อง เราก็สามารถสื่อสารกับ AI ได้ ขอให้เรารู้ว่าอยากได้อะไร อยากให้ AI สวมบทบาทเป็นใคร เขาก็จะหาข้อมูลมาให้เรา เพียงแต่ต้องค่อยๆ คุย ตั้งคำถามทดลองไป
ข้อควรระวัง ปัจจุบันมีโปรแกรมปัญญาประดิษฐ์ปลอม ครูต้องรู้จักชื่อโปรแกรม สีของโลโก้ ซึ่งสามารถหาความรู้จากงานสัมมนา เครือข่ายครู ถามผู้ที่เคยใช้ และให้เขาช่วยโหลดแอปพลิเคชันให้ครู ทุกช่วงวัยก็สามารถใช้ได้ ทักษะทางดิจิทัลการใช้เครื่องมือสื่อสารอย่างถูกวิธีไม่เกินความสามารถของใคร
เทคโนโลยีลดความเหลื่อมล้ำ
ถ้ามีเครื่องมือจะช่วยเพิ่มการเข้าถึงข้อมูล data เป็นขุมทรัพย์มหาศาล ความรู้ต่างๆ ถ้าเข้าถึงได้ก็จะเอามาใช้ประโยชน์ได้ ในขณะเดียวกัน ใครที่ไม่มีเครื่องมือ อาจจะต้องมีศูนย์กลางให้เขาเข้าถึง AI จะมาตอบโจทย์การเรียนรู้ส่วนบุคคล ผู้เรียนแต่ละคนมีอัตราการเรียนรู้ต่างกัน บางคนเร็ว โจทย์ยาก ๆ ทำแป๊ปเดียว ดังนั้นหากนักเรียนต้องใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนรู้ ควรเป็น 1 คนต่อ 1 เครื่อง เพื่อตอบโจทย์ Personalized learning
จริยธรรมของการใช้เทคโนโลยี
เรื่องของการฝึกด้านจริยธรรมของเด็ก สามารถใช้เกมของ Google ชื่อว่า “Be Internet Awesome” ซึ่งเขามีเครื่องมือวางแผนการสอนครบ เล่นได้ตั้งแต่ ป.1-ป.6 ส่วนมัธยมเป็นการโต้วาที แนะนำเอาเกมมาใช้กับเด็ก เด็กเขาชอบเล่นเกม ให้เขาตระหนักและรับผิดชอบสิ่งที่เขากระทำในโลกเทคโนโลยี เพื่อให้เขาโตไปเป็นพลเมืองดิจิทัลที่สมบูรณ์
EdTech เกิดขึ้นได้ทุกที่
อยู่พื้นที่ห่างไกลหรือที่ไหนๆ อยากให้ครูทุกท่านพัฒนาตัวเอง ลบภาพอุปสรรค ความไม่สะดวก และฝ่าฟันไปให้ได้ หากมีโอกาสเข้าไปเรียนรู้ให้ได้เวลากลับคืนมา โดยเฉพาะสิ่งที่ต้องทำเป็นรูทีน เทคโนโลยีสามารถช่วยลดระยะเวลาส่วนนี้ได้ ดังนั้นเราอยากใช้ AI เป็นต้องเรียนรู้ที่จะใช้เนื้อหาบางวิชา ไม่จำเป็นต้องเป็นเทคโนโลยีหมด บางครั้งหากมีการเล่าเรื่องที่ดี ก็ทำให้ผู้เรียนโฟกัสในชั้นเรียนได้ มันคือส่วนผสมหลายๆอย่างที่ครูจะต้องออกแบบ
เทคโนโลยีทางการศึกษา สามารถตอบโจทย์คุณครู ที่มีภาระล้นเหลือนอกเหนือจากงานสอน ดังนั้นให้เขาเป็นตัวช่วย ช่วยแบ่งเบา และใช้อย่างระมัดระวัง ใช้อย่างมีจริยธรรม อยากให้ครู อาจารย์ทุกท่านศึกษา หากผู้สอนเข้าใจอย่างลึกซึ้งจะเป็นประโยชน์แก่ตนเอง รวมถึงผู้เรียนที่กำลังเติบโตท่ามกลางโลกที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยี
Commentaires