top of page

นวัตกรรม Plan Your Money Board Game



โดย อาจารย์ช่อทิพย์ นิมิตรกุล

ประเด็นที่1 เป้าหมายแรงจูงใจในการสร้างนวัตกรรม 

ก่อนหน้านี้เราออกแบบบอร์ดเกมการศึกษา ชื่อว่า Plan Your Momey Board Game ได้รับรางวัลนวัตกรรมการสอนจากธนาคารแห่งประเทศไทยค่ะ (https://www.bot.or.th/content/dam/bot/pages/fin-d-we-can-do/%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A1%20CISAT%20INNOVATION_report.pdf) จากนั้นเราก็ได้รับรางวัลเป็นสถาบันต้นแบบ 3 ปีซ้อน เราใช้บอร์ดเกมของเราในการสอนทั้งเด็กๆ ในวิทยาลัยของเราเอง และนอกสถาบันของเรา ปัจจุบันมีนักเรียนและประชาชนมากกว่า 2,500 รายที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมกับเราค่ะ

จากนั้นมา ช่อได้มีโอกาสรับคัดเลือกเป็น Financial Content Creator จากธนาคารแห่งประเทศไทย( https://www.facebook.com/share/p/D2s2cvF4U511SoLA/?mibextid=WC7FNe)  แล้วได้ไปฟังความรู้เกี่ยวกับเรื่องภัยการเงินค่ะ จึงนำเรื่องนี้มาเป็นเรื่องหลักในการออกแบบบอร์ดเกมยักษ์ค่ะ เนื้อหาในเกมจะเกี่ยวข้องกับเรื่องภัยการเงิน มิจฉาชีพ การโดนหลอก บัญชีม้า การพนัน เป็นต้น

เราทำขึ้นมาเพื่อให้เด็กเข้าใจเรื่องภัยการเงินต่างๆมากขึ้นค่ะ เพราะภัยการเงินบางทีมาในรูปแบบเกม การพนัน หรือการหลอกลวง ชักชวนต่างๆ ต้องการให้เค้ารู้เท่าทันและป้องกันตัวค่ะ 

บอร์ดเกมยักษ์ เริ่มจัดกิจกรรมครั้งแรกเมื่อ พ.ย.66 ค่ะ ทดลองใช้มาเรื่อยๆ ตอนนี้ล่าสุดที่จะใช้คือวันที่ 23 ส.ค.67 ค่ะ 

ประเด็นที่2 ไอเดียการพัฒนา กระบวนการพัฒนามีลำดับขั้นตอนใดบ้าง

เดิมทีก่อนหน้านี้เราออกแบบบอร์ดเกมการศึกษาเรื่องเกี่ยวกับการวางแผนการเงินตามช่วงอายุค่ะ ในการออกไปจัดกิจกรรมต่างๆ บางครั้งมีปัญหาที่เรามีงบประมาณที่จำกัด มีจำนวนเกมจำกัด เวลา หรือแม้แต่จำนวนคน (ผู้เข้าร่วม) ที่เยอะมากเกินไป ทำให้ควบคุมไม่ได้ และอุปกรณ์ไม่พอ เราเลยลองออกแบบเป็นบอร์ดเกมยักษ์ขึ้นมาค่ะ เริ่มแรกเล่นได้ 21-22 คน/ผืนค่ะ หลักๆ เวลาทำกิจกรรมจะมีวิทยากร 1 คน ผู้ช่วยวิทยากร 1 คน ทำให้เราจะเล่นพร้อมกัน 2 บอร์ด รวมแล้วมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ 40 คน+ ต่อรอบค่ะ

เราเริ่มทำเกมและพัฒนาเกมโดยการนำปัญหาที่เด็กๆ โดนแก๊งมิจฉาชีพหลอกจากการเล่นเกม จากการเปิดบัญชีม้า ที่ส่งผลต่อครอบครัวและการเสียชีวิตมาตั้งต้น จากนั้นออกแบบเกมต่อยอดจากสิ่งเดิมที่เรามี พัฒนาเนื้อหาให้ตรงกับความต้องการ นำเกมไปทดลองใช้กับกลุ่มเป้าหมาย แล้วก็เอาคำแนะนำของน้องๆ มาปรับแก้ จากนั้นก็นำเวอร์ชั่นใหม่ไปให้กับรร.หรือกิจกรรมครั้งต่อไป ทำวนลูปไปเรื่อยๆ ค่ะ ตอนนี้เกมค่อนข้างนิ่งแล้วค่ะ มีอาชีพครบ มีสถานการณ์ที่สอดคล้อง มีผลกระทบที่ส่งผลต่อผู้เล่นชัดเจน 

ประเด็นที่3 มีการปรับแก้ปรับพัฒนากี่ครั้ง พัฒนาอย่างไร 

  • มีการปรับพัฒนามา 4 ครั้งค่ะ จากการทดลองใช้ แต่ละครั้งจะมีการปรับแก้ตัวกติกา / คำถามในเกม / เนื้อเรื่อง ที่แตกต่างกันค่ะ เราจะใช้ผ้าใบผืนเดิม ทุกอย่างจะปรับจากคนนำเกมค่ะ

  • ยกตัวอย่างเช่น ต้องดูจากอายุผู้เล่น จำนวนผู้เล่น เนื้อหาบางอย่างที่ทางรร.ต้องการ (บางครั้งรร.จะแจ้งมาก่อนว่า เด็กเค้ามีปัญหาการเงินเรื่องนี้นะ เราก็จะเพิ่มเนื้อหาตรงส่วนนี้ให้ค่ะ)

  • ในเรื่องของอาชีพในเกม จะปรับอาชีพให้สอดคล้องกับสังคม มากขึ้นทางเลือกการตัดสินใจในเกม และสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นจะใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด เพื่อให้น้องๆ ได้เรียนรู้ และจำความรู้สึกนี้ให้ได้

ครั้งที่ 1 ทดลองใช้กับน้องระดับอาชีวะ 

ที่มา : 

ครั้งที่ 2 ทดลองใช้กับน้องมัธยมปลาย

  • ครั้งที่ 3 ทดลองใช้กับพนักงานบริษัท ( 2 บริบท)

ครั้งที่ 4 ทดลองใช้กับน้องมัธยมต้น

ประเด็นที่4 Feedback จากผู้ใช้นวัตกรรม



































ดู 21 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comentarios


bottom of page