โรงเรียนวัดวิมุตยาราม สำนักงานเขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร โดย
เด็กหญิงศุภิสรา บำรุงทรัพย์
เด็กชายณัชชานนท์ อินทนนท์
เด็กชายพีรบูรณ์ แก้วงาม
ครูที่ปรึกษา
ครูชาลิสา เรืองเทพ
ประเด็นที่1 เป้าหมายแรงจูงใจในการสร้างนวัตกรรม
จากสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) เกินมาตรฐาน ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของเด็ก เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันและปอดยังพัฒนาไม่เต็มที่นอกจากนี้ เด็กจะมีอัตราการหายใจมากกว่าผู้ใหญ่ และเด็กมักอยู่เล่นกลางแจ้ง หากอยู่ใกล้แหล่งกำเนิด PM 2.5 ทั้งบริเวณริมถนน โรงงานอุตสาหกรรม จะทำให้มีความเสี่ยงต่อสุขภาพมากยิ่งขึ้น โดยอาจก่อให้เกิดโรคทางเดินหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด และการเจ็บป่วยตั้งแต่วัยเด็ก อาจก่อให้เกิดการเจ็บป่วยเรื้อรังตลอดช่วงวัยผู้ใหญ่
โรงเรียนวัดวิมุตยารามสำนักงานเขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่อยู่ในเกณฑ์เกินมาตรฐาน เนื่องจาก อยู่ใกล้แหล่งกำเนิดฝุ่นละออง คือเส้นทางคมนาคม รถไฟ รถยนต์และทางด่วน จึงให้ความสำคัญในการลดและป้องกันภัยจากฝุ่นPM 2.5 ซึ่งมีนักเรียนกลุ่มเสี่ยง คือเด็กเล็ก ชั้นอนุบาล 1-3 จากการได้รับผลกระทบจากฝุ่นละออง PM 2.5
นวัตกรรม TREE DEE PM 2.5 เครื่องกรองฝุ่น เกิดขึ้น โดยมีแผ่นกรองฝุ่นทำจากพืชธรรมชาติ 3 ชนิด คือ ผักตบชวา กาบกล้วย และใบสับปะรด เพื่อกรองฝุ่นในอากาศให้ลดลงป้องกันฝุ่นเข้าสู่ร่างกายทางกระบวนการหายใจเข้าของนักเรียนกลุ่มเสี่ยง คือเด็กเล็ก ชั้นอนุบาล 1-3 เมื่อนำไปใช้งาน นักเรียนหายใจรับอากาศที่มีปริมาณ PM 2.5 ลดลงน้อยที่สุด
ประเด็นที่2 ไอเดียการพัฒนา กระบวนการพัฒนามีลำดับขั้นตอนใดบ้าง
ความคิดในการพัฒนา มาจาก เครื่องกรองฝุ่นและไส้กรองมีราคาค่อนข้างสูง จึงมีความสนใจที่นวัตกรรมที่สามารถลดต้นทุนได้ ใช้งานได้จริงและมีประสิทธิภาพใกล้เคียง และยังช่วยลดฝุ่นPM 2.5 ได้บ้างแต่อาจจะไม่ทั้งหมด
กระบวนการพัฒนา
1.สืบค้นและศึกษาข้อมูลหลักการทำงานของเครื่องกรองฝุ่น ส่วนประกอบของเครื่องกรองฝุ่น
2.สืบค้นและศึกษาข้อมูลต้นไม้ที่สามารถนำมาทำแผ่นกรองฝุ่นได้
3.ออกแบบเครื่องกรองฝุ่น
4.นำเครื่องกรองฝุ่นไปทดลองใช้
5.พัฒนาปรับปรุงหลังจากการใช้งาน
6.ต่อยอดหลังจากการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น
ประเด็นที่3 ผลลัพธ์/ประโยชน์ Feedback ผลจากผู้ใช้นวัตกรรม
ผลที่เกิดขึ้น หลังจากการใช้งาน นักเรียนชั้นอนุบาล 1-3 มีสุขภาพที่ดีขึ้น ประวัติการเจ็บป่วยน้อยลง การลาป่วยลดลง ระบบทางเดินหายใจปกติ
ประเด็นที่4 แนวทางการพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมในอนาคต
การทำแผ่นกรองฝุ่นครั้งที่ 1 ทำจาก ใบหูกวาง ใบและลำต้นผักตบชวา และ ใบลิ้นมังกร ปรากฎว่า ใบและต้นผักตบชวา กรองฝุ่นได้ดีที่สุดจากผลการทดลอง พัฒนาครั้งที่ 2 ใช้ใบกล้วย และใบสับปะรด แทนใบลิ้นมังกรและใบหูกวาง ปรากฏว่า ทั้งใบกล้วย และใบสับปะรด สามารถกรองฝุ่นได้ดี พัฒนาต่อยอดต่อไป นำใบพืชทั้ง 3 ชนิด คือใบผักตบชวาใบกล้วยและใบสับปะรด มาเปรียบเทียบการกรองฝุ่น ปรากฏว่า ใบผักตบชวา กรองฝุ่นได้ดีที่สุดรองลงมา ใบกล้วย และใบสับปะรด
การทำโมเดลใช้งาน ครั้งแรกใช้กล่องกระดาษลัง และพัดลมดูดอากาศรีไซเคิล ผลปรากฏว่า ไม่แข็งแรงและการดูดอากาศของพัดลม มีความเร็วรอบในการหมุนน้อย ทำให้ดูดอากาศได้ไม่ดี พัฒนา ครั้งที่ 2 ใช้แผ่นฟิวเจอร์บอร์ด และพัดลมดูดอากาศที่มีความเร็วรอบในการหมุนเพิ่มขึ้น
ภาพผลงานหรือนวัตกรรม
Comments