การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการศึกษา เป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์ และกำลังได้รับความสนใจอย่างมาก ในขณะเดียวกันก็มีความท้าทายหลายประการที่เราต้องเจอ ไม่ว่าจะเป็นความเหลื่อมล้ำของทางดิจิทัล และการสร้างสมดุลระหว่างการใช้เทคโนโลยีกับการพัฒนาระบบการศึกษา รวมถึงการพัฒนาทักษะ
วันนี้ Starfish Education มีโอกาสพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ท่าน ที่มีประสบการณ์ในแวดวงการศึกษา ภายใต้หัวข้อ สร้างโอกาสการศึกษาด้วยนวัตกรรม และเทคโนโลยี รับมือกับยุค AI
1.) อาจารย์กุลเชษฐ์ เล็กประยูร ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
2.) คุณพริษฐ์ เที่ยงธรรม CEO Edsy Bangkok, Thailand สตาร์ทอัป AI สอนภาษาอังกฤษ
3.) รศ.ดร.ธันยวิช วิเชียรพันธ์ ผอ.กลุ่มงานวิจัยและแผนพัฒนามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี
นำเทคโนโลยีมาผสมผสานให้เกิดทักษะการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน
Generative AI เขาจะมาเป็นผู้ช่วย มาคุยกับเรา มาอธิบายเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย ทำเนื้อหาให้สนุกให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน หรือแม้กระทั่งหาจุดแข็ง AI ซัลมาน ข่าน ผู้ก่อตั้ง Khan Academy แนะนำการใช้ AI ที่ถูกต้อง ไม่ควรให้ใช้นักเรียนใช้ GPT โดดๆ อาจจะให้ใช้โปรแกรมที่สร้างมาใหม่ และป้อนคำสั่งไว้ไม่ให้คำตอบนักเรียนโดยตรง ให้ AI ช่วยนักเรียนคิดแทน ให้เขาได้หาคำตอบถือเป็นรูปแบบที่เหมาะสม ทำแบบนี้นักเรียนจะเหมือนมี Google ส่วนตัว
ภาครัฐ ภาคสังคม ภาคการศึกษาเรามาต้องดูว่าจะออกแบบระบบนี้อย่างไร ฝั่งเอกชนก็ต้องนำเสนอนวัตกรรมใหม่ๆ ที่จะเข้ามาช่วยชี้แนวทางให้กับครู จะนำไปใช้อย่างไรได้บ้าง AI ควรถูกใช้เป็นตัวช่วยเท่านั้น เราต้องเอามาวิเคราะห์เลือกใช้
สกิลที่เด็กๆ ควรมีในยุค AI
ปฏิเสธไม่ได้พอ AI เข้ามามีส่วนในชีวิตของเรา เป็นองค์ประกอบสำคัญ ในเมื่อเราหลีกเลี่ยงไม่ได้ เราควรจะใช้ให้เป็นประโยชน์ และให้ผู้เรียนมี 3 สกิลดังนี้
1.) ความคิดสร้างสรรค์เราต้องคอยคิดและประยุกต์อยู่เสมอว่า จะเอา AI มาใช้ประโยชน์อย่างไร
2.) การคิดวิเคราะห์ ให้เด็กเรียนผ่านโครงงาน เรียนผ่านการแก้ปัญหาในชุมชน คุณครูอาจจะต้องใช้คำถามเป็นหลัก จะแก้ปัญหาแต่ละเรื่องได้อย่างไร และเด็กต้องออกแบบวิธีการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ใช้ AI มาเป็นตัวช่วย
3.) เรื่องของความรู้ในการใช้เทคโนโลยี จะเขียน prompt อย่างไรให้เขาสร้างงานให้เราสำเร็จ ปัจจุบัน AI พัฒนาขึ้น ดังนั้นต้องรู้จักการเขียน prompt และเขียนอย่างสร้างสรรค์
คุณครูไม่ต้องกลัวเทคโนโลยี
อย่ากลัวที่จะใช้ AI แต่เราต้องเปลี่ยนแปลงให้ทัน เปลี่ยนไปในทุกวัน เราต้องปรับ ออกแบบการสอน ต้องฝึกเขียน prompt และเขาจะช่วยงานท่านได้ ใน ChatGPT เราสามารถใส่เนื้อหา ใส่บริบทการสอน ให้เขาประมวลองค์ความรู้ เราก็สามารถส่งให้นักศึกษาได้ เขาสามารถค้นคว้าหาความรู้ได้ด้วยตนเองภายในกรอบที่เราตั้งไว้ หากไปค้น Google ทุกอย่างจะกระจาย พอใช้ ChatGPT เราจะสามารถ scope ได้ ซึ่งจะลดภาระการทำงาน
ทลายกำแพงลดความเหลื่อมล้ำแก่เด็กชนบท
การจะปลดล็อกโรงเรียนชนบทให้เข้าถึงเทคโนโลยีนั้น อย่างแรกต้องสร้างแนวความคิดใหม่ให้กับครู AI จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต บุคคลที่เป็นส่วนได้ส่วนเสียทั้งพ่อแม่ ผู้ปกครอง ญาติพี่น้อง ทุกคนควรทำความเข้าใจจุดนี้ อย่างที่สองความมีการอบรม ให้ผู้คนได้ทดลองใช้เทคโนโลยี ลดความกลัว อย่างที่สาม ปรับที่โครงสร้างพื้นฐาน เพราะทุก ๆ วันเทคโนโลยีล้ำหน้า ดังนั้นไม่ต้องรอส่วนกลาง หา funding แหล่งเงินทุน
ลดความเหลื่อมล้ำด้วย know how เด็ก ๆ เข้าใจว่า AI สามารถทำอะไรได้บ้าง และโอกาสในการฝึกใช้ มีอุปกรณ์ อยากขอความร่วมมือจากภาครัฐ สังคม เอกชน เพราะอุปกรณ์เป็นอีกสิ่งหนึ่งเชื่อมโยงเทคโนโลยีเข้ามาหาเรามากขึ้น
เทคโนโลยีมีทั้งประโยชน์ มีทั้งความท้าทาย และโอกาส เราจะสามารถสร้างการเรียนรู้ที่เท่าเทียมให้กับเด็กที่อยู่พื้นที่ห่างไกล สิ่งนี้ต้องขอความร่วมมือจากทุกฝ่าย และขอส่งพลังให้กับคุณครูที่อยู่พื้นที่ห่างไกล ให้ออกแบบการศึกษาที่เหมาะสมกับเด็กๆ ในโรงเรียนของตนเอง
Comments