top of page
รูปภาพนักเขียนFutureEd Fest

Future of work เมื่อโลกพร้อม ประเทศไทยต้องไปต่อแบบไหน

อัปเดตเมื่อ 5 วันที่ผ่านมา


ครู ผู้ปกครอง นักการศึกษา ต่างพากันหาวิธีที่ดีที่สุดเพื่อติดอาวุธให้กับลูกศิษย์ ลูกหลาน ให้พร้อมรับต่อโลกที่ไม่สามารถคาดเดาได้อย่างเช่นปัจจุบัน ในวันนี้ StarfishLabz ได้รับเกียรติจากผู้ที่ทำงานทั้งในภาครัฐ และเอกชน ร่วมแชร์ความคิดเห็น ข้อมูลเชิงลึก ภายใต้หัวข้อ Future of work เมื่อโลกพร้อมประเทศไทยต้องไปต่อแบบไหน


1.) ดร.วิศิษฏ์ จิรัฐิติกาลโชติ Robotic Engineer 

2.) Dr. Pietro Borsano Faculty member in Entrepreneurship CSII 

3.) คุณตะวัน แสงทอง (ครูโทนี่) รองผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนไทรโยคมณีกาญจน์วิทยา 


แต่ละท่านจะมีอะไรมาแบ่งปันบ้าง เรื่องราวจะเข้มข้นแค่ไหน มาหาคำตอบผ่านบทความนี้ไปพร้อมกัน


ความท้าทายที่กำลังถาโถม

ช่วงเฟสแรกของเทคโนโลยี 1-3 ปีข้างหน้า ผู้คนกำลังเรียนรู้ เรียกว่า Learning phase หาวิธีเทคโนโลยีเป็นอย่างไร ปัญญาประดิษฐ์จะใช้อย่างไร เพื่อนำมาใช้ช่วยแก้ปัญหา เฟสที่สองในอีก 3-10 ปี      คนเริ่มนำ AI มาใช้กับชีวิตประจำวัน ช่วยทำงาน เด็กรุ่นหลังอาจจะใช้งานได้อย่างคล่องแคล่ว 


เฟสสุดท้าย อีก 10 ปี+ AI จะกลายเป็นเรื่องทั่วไป ในสังคมมีความคุ้นชิน ทุกอย่างผสานเข้าด้วยกัน อาชีพหลายอาชีพจะมีเวลาเพิ่มมากขึ้น เพราะ AI เข้ามาช่วย ดังนั้นเราต้องเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับ AI

เริ่มได้ที่เปลี่ยน Mindset ของกลุ่มคนรุ่นใหม่ เพราะในอนาคตพวกเขาจะต้องทำงาน และใช้ชีวิตกับ AI แน่นอน และเสริมทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต อีกส่วนสำหรับภาครัฐสามารถปรับหลักสูตรให้สอดคล้องกับเทคโนโลยี และการเรียนการสอนควรใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร  


บุคลากรในโรงเรียนต้องคุ้นเคยกับเทคโนโลยี

ในฐานะคุณครู ไม่ใช่แค่เพียงสอนเด็ก ๆ ให้รู้จักเทคโนโลยี แต่เราต้องกระตุ้น ชี้ให้เห็นว่าเทคโนโลยีสำคัญแค่ไหน ถ้ารู้แล้วช่วยอะไรได้บ้าง การใช้เทคโนโลยีอย่างชาญฉลาดก็เป็นอีกเรื่องที่สำคัญ ปัจจุบันมิจฉาชีพแพร่ระบาดในโลกออนไลน์ เราต้องสอนนักเรียนให้เขาใช้เทคโนโลยีอย่างระมัดระวัง และจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยี สอนให้เขาใช้ในทางที่ถูก ฉลาดรู้ ครู ผู้บริหาร เราต้องสอนนักเรียนของเราให้เขามีความรับผิดชอบต่อเทคโนโลยี 


การเตรียมพร้อมในทุกด้านเพื่อลูกศิษย์

โรงเรียนต้องมีอุปกรณ์ให้เด็กๆ อย่างคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต และต้องเทรนครูให้รู้จักใช้เทคโนโลยี ผ่านการจัดสัมมนา อบรม หัวข้อการใช้เครื่องมือต่างๆ 


นักเรียนเขาอาจจะลืมสิ่งที่เราสอน และเขาอาจจะลืมเทคโนโลยีที่เราใช้ในห้องเรียน แต่เขาจะไม่ลืมสิ่งที่เราทำให้เขารู้สึก การสอนนักเรียนเป็นเรื่องท้าทายมาก ต่อให้เทคโนโลยีจะก้าวกระโดดไปไกลแค่ไหน เราสามารถเอาชนะเทคโนโลยีได้ด้วยหัวใจ การเอาใจใส่ ความใกล้ชิดกับลูกศิษย์


โลกดิจิทัลก็มีข้อเสีย

นักเรียนสามารถใช้ AI ได้ แต่ในขณะเดียวกันถ้าเขาพึ่งพิงมากเกินไป จะลดทอนโอกาสในการฝึกความคิดวิจารณญาณ หน้าที่ของครูคือหมั่นสร้างปฏิสัมพันธ์กับเขาเยอะๆ พาเขาออกมาจากหน้าจอสู่ความเป็นจริง เวลาเราสอนนักเรียน เราต้องคิดว่าคุณค่าอะไรที่สามารถส่งต่อให้เด็กๆ ได้ และเป็นประโยชน์กับเขาในภายภาคหน้า 


อีกหนึ่งความท้าทาย โซเชียลมีเดียทำให้เด็กๆ เครียด ส่งผลต่อปัญหาสุขภาพจิต ดังนั้นการลดการใช้เทคโนโลยี ถือเป็นทางออกที่ส่งผลให้ความเครียดน้อยลง 


คำแนะนำถึงเด็กรุ่นใหม่จากใจพี่ ๆ ที่เคยหนุ่มสาว

น้องๆ ควรรู้ว่าเราอยากเรียนอะไร สกิลด้านใดบ้างเราจะเพิ่มให้กับตัวเอง เพราะมันจะสร้างคุณค่าให้กับตัวเราในระยะยาว ในแง่การใช้ชีวิตและชีวิตการทำงาน และการมีโค้ชสักหนึ่งคน อาจจะเป็นไอดอลที่ชอบ เพื่อให้เราเห็นภาพ สิ่งที่เราอยากเป็นในอนาคต เพราะคนเหล่านั้นเขาล้วนมีประสบการณ์ รู้ว่าอะไรควรทำไม่ควรทำ 


การทำให้เด็กรู้สึกมั่นใจ และไม่กลัวการเปลี่ยนแปลงในอนาคตนั้น เริ่มต้นจากครู คนใกล้ชิด  และผู้ใหญ่อย่างเราที่จะเป็นสะพานพาเขาไปให้ถึงฝั่ง ผ่านการชี้แนะ ให้คำปรึกษา สั่งสอนผ่านการเป็นตัวอย่างที่ดี นอกจากการบอกถึงความสำคัญของเทคโนโลยี การพูดถึงข้อเสียก็เป็นสิ่งที่จำเป็นเช่นกัน เด็กๆ จะได้รู้เท่าทัน และเป็นผู้ที่สามารถใช้เทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงใช้อย่างมีความรับผิดชอบ

 




ดู 0 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page