1. ทีมรถยนต์ไฟฟ้าสำหรับผู้พิการ จากวิทยาลัยเทคนิคนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ กับนวัตกรรม รถยนต์ไฟฟ้าสำหรับผู้พิการ
ปัญหาคนพิการในการเดินทางและการใช้รถยนต์ยังคงเป็นอุปสรรคในชีวิตประจำวัน โครงการ “รถยนต์ไฟฟ้าสำหรับคนพิการ KOTAKA EV” จึงเกิดขึ้นเพื่อพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าที่ทำให้ผู้พิการและผู้สูงอายุ สามารถเดินทางได้อย่างสะดวก ปลอดภัย และสามารถใช้งานได้ด้วยตนเอง
นวัตกรรมนี้ตอบโจทย์แก้ไขปัญหาในรูปแบบใด
กลุ่มผู้พิการทางการเดินหรือผู้ใช้รถเข็นคนพิการ
สามารถรับชม VDO การแข่งขันได้ที่ ลิงก์ : https://bit.ly/4hCL86H
2. ทีมผีขนโชค จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จังหวัดกรุงเทพมหานคร กับนวัตกรรม ชุดกิจกรรมศิลปะรักษ์โลกเพื่อการเรียนรู้วัฒนธรรมพื้นบ้าน PHI KHON CHOK: Green Art Activities for Learning Folk’s Culture
ชุดกิจกรรมศิลปะการสร้างสรรค์กำไลสายมูที่ทำมาจากเศษผ้าพื้นเมืองในจังหวัดเลย พร้อมกับการออกแบบลวดลายให้สอดคล้องกับวัฒนธรรม ประเพณี รวมถึงอัตลักษณ์ในท้องถิ่นเข้ากับยุคปัจจุบัน ผสมผสานกับความเชื่อของไทยเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต เสริมสร้างความมั่นใจให้แก่ตนเอง รวมถึงยังเป็นการเสริมสร้างด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ และการปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ทำให้ผู้ลงมือทำสามารถสร้างสรรค์กำไลของตนเองได้อย่างอิสระ เสริมสร้างสุขภาวะทางจิตใจที่ดี ช่วยให้ผ่อนคลายและมีความสุขในการทำกิจกรรม กำไลนี้เป็นวัสดุที่ได้จากเศษผ้าเหลือทิ้งในอุตสาหกรรมการทำของที่ระลึกและการตัดเย็บเสื้อผ้าในจังหวัดเลย เป็นการพัฒนาจากวัสดุที่เหลือทิ้งให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่มูลค่าเชิงเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตให้แก่คนในชุมชนได้สร้างราย สร้างอาชีพให้แก่คนในพื้นที่
นวัตกรรมนี้ตอบโจทย์แก้ไขปัญหาในรูปแบบใด
การพัฒนาสื่อการสอนและการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
สามารถรับชม VDO การแข่งขันได้ที่ ลิงก์ : https://bit.ly/3YV3B7o
3. ทีม BK-Tech จากวิทยาลัยเทคนิคบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ กับนวัตกรรม เครื่องอัดเม็ดปุ๋ยอินทรีย์ด้วยระบบเกลียวลำเลียงอัตโนมัติ
"นวัตกรรมที่สร้างขึ้นคือเครื่องอัดปุ๋ยอินทรีย์ด้วยระบบเกลียวลำเลียงใช้สำหรับแปรรูปปุ๋ยอินทรีย์ ให้อยู่ในรูปแบบเม็ด ง่ายต่อการเก็บรักษาและนำไปใช้งาน
นวัตกรรมนี้ตอบโจทย์แก้ไขปัญหาในรูปแบบใด
จากสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นกับวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ ยางพาราบ้านพรสวรรค์ จังหวัดบึงกาฬที่ทำให้กำลังการผลิตตกต่ำไม่เพียงพอต่อความต้องการของชุมชน และผลผลิตที่ได้ออกมาไม่มีคุณภาพ ส่งผลต่อรายได้และความเป็นอยู่ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนอย่างมาก
ผู้จัดทำได้สืบสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจากกลุ่มเกษตรกรที่ปฎิบัติหน้าที่อัดเม็ดปุ๋ยได้พบกับปัญหาการติดขัดที่สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดขึ้นในขั้นตอนการป้อนวัตถุดิบในปริมาณมากๆตรงช่องรับวัตถุดิบซึ่งก็จะเกิดการแออัดในช่องบดอัดตามไปด้วยส่งผลต่อความคล่องตัวของลูกกลิ้งบดอัดทำให้ระบบติดขัดและระบบโดยรวมไม่สามารถทำงานได้ จากปัญหาข้างต้นผู้จัดทำจึงได้ออกแบบวิธีแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการออกแบบให้แยกระบบบดอัดและกรวยรับวัตถุดิบออกจากกันโดยข้างล่างกรวยรับวัตถุดิบจะมีระบบเกลียวลำเลียงที่ควบคุมด้วยระบบสมองกลฝังตัวสามารถปรับระดับความเร็วของการลำเลียงวัตถุดิบที่จะป้อนไปสู้ระบบบดอัดได้ตามความเหมาะสม ก็จะช่วยลดปัญหาการติดขัดที่เกิดจากการแออัดของวัตถุดิบในช่องบดอัดลงได้และยังมีระบบช่วยบรรจุภัณฑ์โดยสามารถชั่งและกำหนดน้ำหนักของวัตถุดิบที่ออกมา ช่วยลดการสูญเสียและระยะเวลาในการบรรจุภัณฑ์ปปุ๋ยอัดเม็ดลงทำให้การแปรรูปปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็วสามารถแก้ปัญหาและส่งเสริมการแปรรูปปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดอย่างยั่งยืนต่อไป
สามารถรับชม VDO การแข่งขันได้ที่ ลิงก์ : https://bit.ly/3ChjzzG
Comments