วันที่ 8 ตุลาคม 2566 งานเทศกาลการศึกษา FutureEd Fest 2023 มีกิจกรรม Panel Discussion ที่น่าสนใจ เพราะเชิญผู้เชี่ยวชาญมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงในโลกอนาคต ดังรายละเอียดหัวข้อการแลกเปลี่ยนช่วงที่ 2 ต่อไปนี้
“Shaping the Future of Work: การเปลี่ยนแปลงและโอกาส”
โดยมีผู้ร่วมเสวนา ได้แก่ รศ.ดร.สมเกียรติ อินทสิงห์ ผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ คุณภฤศ วรรัตนวงศ์ กรรมการขับเคลื่อนนโยบายการศึกษากรุงเทพมหานคร และกรรมการพื้นที่นวัตกรรมการศึกษากรุงเทพมหานคร ชวนพูดคุย โดย คุณดนู สิงหเสนี (ดีเจตั้ม)
คำถามที่ 1: เราจะต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง
คุณสมเกียรติ : เราเข้าสู่โลกดิจิทัลและตลาดแรงงานได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก มีการใช้ปัญญาประดิษฐ์ต่างๆ ดังนั้น ทักษะทางด้านเทคโนโลยีมีความสำคัญมาก และ Soft Power ก็เป็นเรื่องที่มาแรง เช่น 5F ได้แก่ อาหาร (Food) ภาพยนตร์ (Film) เทศกาลต่างๆ (Festival) แฟชั่นเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย (Fashion) ศิลปะการต่อสู้ (Fighting) เป็นธุรกิจที่มาแรง ดังนั้น โรงเรียนจะต้องตอบโจทย์เรื่องนี้มากขึ้น และอีกมิติหนึ่ง คือภาครัฐจะต้องทำอะไรให้เร็วขึ้น เพื่อส่งเสริมซึ่งกันและกัน ในส่วนของโรงเรียน เราจะต้องพัฒนาสมรรถนะครูให้มีการReskill และ Upskill ระหว่างคนรุ่นเก่าและรุ่นใหม่เข้าด้วยกัน
คำถามที่ 2: การขับเคลื่อนในมุมมองการศึกษาของกรุงเทพมหานครเป็นอย่างไรบ้าง
คุณภฤศ : Skill ที่สำคัญที่สุด คือ Resilence เด็กต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เด็กๆ ต้องได้ลองทำไปเรื่อยๆ ทำในสิ่งที่ตัวเองชอบ ยังไม่ต้องสนใจว่าอาชีพนี้จะหายไปหรือไม่หาย กลับบ้านไป ขอให้คุณพ่อคุณแม่พาน้องไปลองทำ เช่น ไปหาค่าย ส่วนคุณครูก็ไปเปิดโอกาสให้เด็กได้ลองทำเลย เพราะน้องจะได้ทักษะของการตั้งคำถามและแก้ปัญหาได้ อีกอย่างหนึ่ง คือ ทักษะการเป็น Care Giver การดูแลผู้สูงอายุ เพราะเมืองไทยของเรากำลังก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุ หรือ การเป็นเมืองท่องเที่ยว เรามาสร้างให้น้องมีทักษะนี้ได้เลย เรียนได้ตั้งแต่วันนี้ได้เลย
คำถามที่ 3 : Shaping the Future อย่างไรดี
คุณสมเกียรติ : คนหนึ่งคนสามารถประกอบอาชีพได้หลายอาชีพ และความสามารถด้านหนึ่งจะไปสนับสนุนทักษะอีกด้านหนึ่ง และเชื่อมไปสู่การประกอบอาชีพที่ทำได้หลายอย่าง องค์ประกอบของคนยุคใหม่ คือ ต้องทำได้หลายอย่าง (Multitaking) และเราอย่าหยุดการเรียนรู้ ต้องเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) และให้โอกาสตัวเองได้ทดลองสิ่งใหม่ๆ มากยิ่งขึ้น เช่น เรื่องหลักสูตรต้องลดเนื้อหาให้น้องๆ ได้มีพื้นที่ในการค้นหาตัวเอง ใช้หลักคิดของ Work-Based Learning ที่มากขึ้นเพื่อให้น้องๆ สามารถเข้าถึงอาชีพได้เร็วขึ้น เพราะโลกแห่งการทำงานในยุคดิจิทัลเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้นครูและผู้บริหาร จึงจำเป็นต้อง 4 เปิด เปิดหู เปิดตา เปิดใจ และเปิดโลกการเรียนรู้สู่การเสริมสร้างสมรรถนะในการเรียนและการทำงานให้กับผู้เรียนได้อย่างมีนวัตกรรม
คุณภฤศ : ฝึกการเตรียมตัวตามช่วงอายุ เช่น เมื่อเข้าสู่วัยเด็กประถม ต้องเรียนรู้เรื่อง EF น้องต้องสามารถตั้งเป้าหมาย แก้ปัญหา และวางแผนเป็น และ Self คือการมีตัวตน และเมื่อเข้าสู่วัยมัธยม คือ การได้ลงมือทำ การตั้งโจทย์ให้แก่ตัวเอง และการแก้ปัญหารอบตัวเพื่อตัวเองและคนอื่น สุดท้ายเมื่อเข้าสู่วัยทำงานคือ ทดลองเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ เพื่อการเปิดโลกความสามารถของตนเอง
จากกิจกรรม Panel Discussion ในช่วงที่ 2 ในหัวข้อ “Shaping the Future of Work: การเปลี่ยนแปลงและโอกาส” ทำให้ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้มุมมองที่ชัดเจนมากขึ้นว่าเราจะต้องพัฒนาตนเองอย่างไรบ้าง เพื่อก้าวเข้าสู่โลกอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Comentarios