top of page

การผลิตสื่อการเรียนการสอนอย่างง่าย

อัปเดตเมื่อ 7 ธ.ค. 2566



วิทยากรจาก ThaiPBS นำทีมมาให้เทคนิคการสร้างสื่อด้วย 4 เทคนิค ที่จะช่วยให้คุณครูสามารถสร้างสื่อการสอนที่แปลกใหม่ หลากหลาย เหมาะสมกับแพลตฟอร์ม และใช้ต้นทุนไม่มาก ที่สำคัญสามารถทำได้ด้วยตนเอง ดังนี้

เทคนิคที่ 1: 3C รูปแบบวิธีการผลิตสื่อการสอน ได้แก่

  • รูปแบบที่ 1: Create การคอนเทนต์ด้วยการสร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่ หมายถึงการสร้างตัวตนและประเด็นใหม่ๆ ขึ้นมา โดยเริ่มจากการเลือกจากสิ่งที่เราชอบ หรือสิ่งที่เรารู้อยู่แล้ว เช่น การนำบทเรียนมาเป็นเพลง (เพราะคุณครูชอบร้องเพลงแรป)

  • รูปแบบที่ 2: Curate การสร้างคอนเทนต์ด้วยการรวบรวม เช่น การนำสิ่งของคนอื่นมาปรับ หรือมาแปลเป็นการเรียนการสอนต่างๆ หรือการพากย์เสียง ลงคลิปต่างๆ เป็นต้น

  • รูปแบบที่ 3 : Collaborate การสร้างคอนเทนต์ด้วยการร่วมมือ เช่น การร่วมมือกับคน / สถานที่ เช่น การนำตัวของคุณครูไปอยู่กับสถานที่ / สิ่งของ เป็นต้น

*พื้นฐานของการคิดคอนเทนต์ คือ การสร้างความสุขให้กับคนอื่น

เทคนิคที่ 2: การลงเสียง Voice Over

  1. ออกเสียงคำควบกล้ำ ร. เรือ ล.ลิงให้ชัดเจน

  2. หากคำไหนไม่แน่ใจ ให้หาข้อมูลจากราชบัณฑิตยสถาน

  3. อ่าน ทำความเข้าใจสคริปต์ก่อนลงเสียง

  4. ฝึกอ่าน ฝึกออกเสียงบ่อยๆ มีการขึ้น-ลงของเสียง

Tips: สามารถใช้จุดเด่นของเสียง เพื่อสร้างตัวตนได้ และสามารถใช้ภาพ insert ได้

เทคนิคที่ 3: รู้จักสื่อ Social Media และ size Video ของแต่ละประเภท

ขนาดของ Video มีตั้งแต่ 16:9 / 1:1 / 4:5 / 2:3 / 9:16

  • 16:9 : แนวนอน เหมาะสำหรับใน Youtube และ Video Size ทุกแพลตฟอร์ม

  • 1:1 : เหมาะสำหรับ Facebook / IGภาพโฆษณา

  • 4:5 : เหมาะสำหรับ Facebook / IG ทั้งภาพนิ่งและวิดีโอ

  • 2:3 : เหมาะสำหรับ Facebook เท่านั้น

  • 9:16 : เหมาะสำหรับใน Tiktok / Reels/ Youtube short

ระยะเวลาที่เหมาะสมในการลง content ในแพลตฟอร์มต่างๆ

  • IG reels 15-60 วินาที

  • Facebook 1 นาที

  • Tiktok 7-15 วินาที

  • Twitter 44 วินาที

  • Youtube 2-5 นาที

แอปพลิเคชั่นที่ใช้ในการตัดต่อ

  • Capcut

  • Inshot

  • Kind Master

  • Vllo

โปรแกรมสำหรับ Footage/Picture/Graphic/Sound

  • Pexel

  • Pixabay

  • Freepik

  • Thaifaces

  • Youtube/@audiolibrary

เทคนิคที่ 4 : Mobile Filmmaking สร้างวิดีโอง่าย จากมือถือ

  • ความแตกต่างระหว่างการถ่ายมือถือ และกล้อง DSLR ได้แก่

ข้อดีมือถือ

  1. ราคาไม่แพง

  2. ใช้งานสำหรับทุกคน

  3. คุณภาพไฟล์สู้กล้องใหญ่ได้แน่นอน

ข้อเสียของมือถือ

  1. ต้องซื้ออุปกรณ์เสริมเพิ่มเติม เช่น ใช้ในกรณีที่มืดต่างๆ

  2. หน่วยความจำน้อย

  3. คุณภาพของเสียงอาจไม่ได้ดีมาก

  • การตั้งค่าคุณภาพในมือถือ

  1. เลือก setting

  2. เลือก Camera

  3. เลือก Full HD 1080

  4. เปิดฟังก์ชั่น Grid line 9 ช่องจะทำให้ถ่ายรูปละเอียด และดึงสายตาของรูปภาพ

  • เทคนิคการถ่ายรูป/ ถ่ายวิดีโอ แบบไม่สั่น

  1. ซื้อขาตั้งกล้อง / ถ้าไม่มีก็จะใช้วิธีการหนีบใต้รักแร้ / หมุนทั้งตัว

  • เทคนิคเรื่องเสียง

  1. ซื้อไมค์มาเสียบ

  2. อัดเสียงตามหลัง และพากย์เสียงตามหลัง

คุณครูที่เข้าร่วมกิจกรรมสามารถนำ 4 เทคนิคไปฝึกใช้ในการสร้างสื่อของตนเองได้ทันทีโดยเริ่มจากวิชาที่ตนเองถนัด ซึ่งหัวใจสำคัญของการสร้างสื่อคือการส่งสารไปให้กลุ่มเป้าหมายเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับสารที่มีคุณภาพและมีประโยชน์ในการนำไปใช้



ดู 51 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page