กิจกรรม Showcase เป็นหนึ่งในกิจกรรมจากงานเทศกาลการศึกษา FutureEd Fest 2023 โดยมี 3 โรงเรียนในกลุ่มพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาที่เข้ามาร่วมแบ่งปันนวัตกรรมการเรียนรู้ ซึ่งเป็นระยะเวลากว่า 5 ปี ที่มีการประกาศ พ.ร.บ พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เพื่อต้องการปลดล็อกและให้อิสระแก่โรงเรียนในการบริหารจัดการ และการสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของผู้เรียน ซึ่งตอนนี้เกิดผลลัพธ์ที่เห็นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนขึ้น ตามการนำเสนอผลงานของแต่ละโรงเรียน ดังนี้
1) โรงเรียนร่มเกล้า จังหวัดกาญจนบุรี ได้พัฒนานวัตกรรมที่มีชื่อว่า PAORE เป็นนวัตกรรมการนิเทศ เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ Active Learning สู่การพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน เพื่อให้นักเรียนเป็นคนเก่ง คนดีและมีความสุข มีการนิเทศกำกับติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง
สภาพปัญหาก่อนการพัฒนา
สมุด หนังสือ กระดาน เรียนตามหลักสูตรกำหนด
นักเรียนเรียนรู้ในฐานะผู้รับ ผ่านการฟัง อ่าน ดู
ครูมีหน้าที่สั่งงาน นักเรียนมีหน้าที่ทำตาม
สอบข้อเขียน กากบาท จับคู่ เติมคำ
เรียนรู้ได้ไม่เกิน 50% เพราะไม่ได้ลงมือปฏิบัติ
นวัตกรรม PAORE คืออะไร
P วางแผนการนิเทศ (Plan) ประชุมครูผู้บริหาร เพื่อวางแผนในการมทำงานเพื่อไปสู่เป้าหมาย
A ลงมือปฏิบัติงาน (Action) มีการนิเทศ 3 รอบ โดยรอบที่ 1 นิเทศเดือนที่ 1 / รอบที่ 2 นิเทศเดือนที่ 2/ รอบที่ 3 นิเทศเดือนที่ 3 ต่อ 1 ภาคเรียน โดยการใช้ PLC ที่แตกต่างจากโรงเรียน โดยคุณครูจะรวมกลุ่มครูที่สามารถเป็นทีมเดียวกันได้ สามารถช่วยเหลือซึ่งกันได้ ซึ่งระบบ PLC ของโรงเรียนจะมี 2 ระดับ ได้แก่ ระดับโรงเรียน จะมีเดือนละ 1 ครั้ง และระดับชั้นเรียนจะมีทุกสัปดาห์ โดยคุณครูจะมีการวิเคราะห์แผนการสอน วิเคราะห์สื่อ ซึ่งในแต่ละกลุ่ม PLC จะมีโมเดลการทำ PLC เป็นของตัวเอง (รวมเป็น 11 โมเดล)
O การสังเกตตามแผน (Observe) การสังเกตการสอนรอบที่ 1 มีคุณครูที่อยู่ในวง PLC เดียวกันเข้าไปสังเกตการณ์สอนของเพื่อน / รอบที่ 2 คุณครูหัวหน้ากลุ่มสาระจะเป็นผู้สังเกตการณ์ / รอบที่ 3 เป็นคณะกรรมการ เช่น ผู้บริหาร คุณครูหัวหน้ากลุ่มสาระ และคุณครูต่างกลุ่มสาระ และในแต่ละครั้งจะมีการสรุปผลออกมา
R การสะท้อนผล (Reflect) การสะท้อนผลจะมีการสะท้อนในกลุ่ม PLC วงเล็ก และมีการสะท้อนในกลุ่มใหญ่ (SLC)
E การประเมินผลการนิเทศ (Evaluation) จัดทำ SAR รายงานประจำปี
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับนักเรียน
ด้านความฉลาด (Smart) ได้รับผลงานนักประดิษฐ์ระดับนานาชาติเหรียญทอง โดยการประดิษฐ์ เตาหมูปิ้งลดมลพิษ
ด้านความดี (Good) ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนระดับดีขึ้นไปร้อยละ 99.69 เช่น กิจกรรมปลูกป่า กิจกรรมสัญญาณจราจร
ด้านความสุข (Happy) เรียนแล้วเด็กต้องมีความสุข ซึ่งเด็กมีความสุขมากขึ้นในการมาโรงเรียนและได้ทำกิจกรรม
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับสถานศึกษา
ด้านบริหารจัดการ ได้รับรางวัลหนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรมระดับประเทศ เหรียญทองแดง : รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้หลักสูตรบูรณาการท้องถิ่น “ชุมชนถิ่นลิ่มรักษ์ไม้ไผ่ วิถีธรรม วิธีไทย รวมใจภักดี น้อมนำเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน”
ด้านการจัดการเรียนรู้ : 1) ครูจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้ ได้ระดับคุณภาพ 5 (ระดับคุณภาพยอดเยี่ยม)
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับคุณครู
คุณครูได้สร้างนวัตกรรมต่างๆมากมาย เช่น การอ่านขั้นสูง สู่การสร้างสื่อออนไลน์ / การสอนโดยใช้เกณฑ์เป็นฐาน 3P
คุณครูใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้
ปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินงาน
การสร้างนวัตกรรมจนได้รับรางวัล ในโครงการ Innovation for Thai Education (IFTE) รูปแบบการนิเทศ PAORE เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ Active Learning สู่การพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน
เป็นศูนย์ HCEC โครงการอบรมปฏิบัติการออกแบบบทเรียน Digital Platform
2) โรงเรียนวัดโสมนัส จากกรุงเทพมหานคร กับนวัตกรรม Spirit ' S Quality School นวัตกรรมการบริหารจัดการสถานศึกษาสู่การประกันคุณภาพภายในอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่สร้างพลเมืองดี มีทักษะอาชีพ
ความสำคัญของผลงาน / นวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)
เกิดจากความต้องการมุ่งตอบโจทย์ปัญหาพื้นฐานสภาพสังคมในยุคปัจจุบัน ในด้านประเด็นปัญหา / การแยกแยะผลประโยชน์ส่วนตนออกจากส่วนรวม / การขาดคุณธรรมจำเพาะตัวบุคคล / ส่งผลต่อพฤติกรรมเลียนแบบด้านลบต่อเยาวชน
การบริหารจัดการโรงเรียน ขาดการจัดการที่เป็นระบบ / ไม่สอดคล้องกับบูรณาการเชื่อมโยงกับบริบทสถานศึกษาตามหลักการจัดการศึกษา
ขาดการมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาเพื่อนำไปสู่ผลลัพธ์ที่บรรลุเป้าหมายของโรงเรียนสุจริต สัมพันธ์ควบคู่ไปกับการดำเนินการประกันคุณภาพภายในได้
ปัญญาพฤติกรรมความทุจริตในสังคม
เป้าหมายและวัตถุประสงค์
ต่อยอดนวัตกรรมการบริหารจัดการสถานศึกษา Spirit ' S Quality School “โสมนัสสร้างพลเมืองดี” สู่การพัฒนาผู้บริหาร ครูบุคลากร และนักเรียนให้มีคุณลักษณะ 5 ประการ เกิดเป็น Best practice ที่สามารถเชื่อมโยงสู่การประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สร้างฐาน ปลูกฝังค่านิยม และสร้างภูมิคุ้มกันความเป็นพลเมืองดีด้วยการขับเคลื่อนนวัตกรรม Spirit ' S Quality School “โสมนัสสร้างพลเมืองดี” ให้เกิดเป็นวัฒนธรรมในโรงเรียนส่งผลสู่ผู้เรียน และบุคลากรทุกคนในโรงเรียนวัดโสมนัส (จำนวน 388 คน)
สร้างเครือข่ายและพัฒนาการมีส่วนร่วมให้แก่นักเรียน ครู ผู้บริหาร และชุมชน ด้วยนวัตกรรม Spirit ' S Quality School “โสมนัสสร้างพลเมืองดี” ให้เผยแพร่สู่สาธารณชนเกิดเครือข่ายในการพัฒนาสถานศึกษาได้อย่างยั่งยืน
แนวคิดการพัฒนานวัตกรรม
เกิดความต้องการมุ่งตอบโจทย์ ปัญหาพื้นฐานสภาพสังคมในยุคปัจจุบันในด้านประเด็นปัญหา / การแยกแยะผลประโยชน์ส่วนตนออกจากส่วนรวม การขาดคุณธรรมจำเพาะตัวบุคคล / ส่งผลต่อพฤติกรรมเลียนแบบด้านลบต่อเยาวชน
การบริหารจัดการในโรงเรียน ขาดการจัดการที่เป็นระบบ / ไม่สอดคล้องกับบูรณาการเชื่อมโยงกับบริบทสถานศึกษาตามหลักการจัดการศึกษา
ขาดการมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาเพื่อนำไปสู่ผลลัพธ์ที่บรรลุเป้าหมายของโรงเรียนสุจริต สัมพันธ์ควบคู่ไปกับการดำเนินการประกันคุณภาพภายในได้
ผลลัพธ์ที่อยากให้เกิดขึ้น
ลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา (SDG)
กระบวนการพัฒนาผลงาน / นวัตกรรม
น้อมนำพระบรมราโชบายการพัฒนาการศึกษาในการสร้างพลเมืองดี สู่สังคม
เข้าระบบประกันคุณภาพภายใน P (Plan) / D (Do) / C (Check) / A (Act)
S = Smart Sommanas ผู้บริหาร ครู มีสมรรถนะตามมาตรฐาน มีทักษะส่งเสริมพัฒนาให้ผู้เรียนมีทักษะ สร้างจิตสำนึกความรับผิดชอบให้สอดคล้องตามความต้องการกับบริบทชุมชน
P = PLC to Teach สร้างทัศนคติที่ดี ส่งเสริม พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เป็นผู้มีคุณธรรม เพื่อเป็นต้นแบบให้ผู้เรียน มีอุดมการณ์ปลูกฝังทัศนคติด้านการมีคุณธรรม
I = Individual focus สร้างเอกลักษณ์ให้ผู้เรียนเป็นรายบุคคล
R = Research to share สร้างงานวิจัยและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนครู
I = Implement Skill ทักษะที่จะเกิดขึ้นในตัวของนักเรียนเพื่อเป็นการสร้างอาชีพให้นักเรียน
T = Team Corporate การมีส่วนร่วม
การประเมินผลเพื่อการปรับปรุง โดยประเมิน 5 ด้าน 1) ด้านทักษะกระบวนการคิด 2) ด้านวินัย 3) ด้านความซื่อสัตย์ 4) ด้านความพอเพียง 5) ด้านจิตสาธารณะ
บทเรียนที่ได้รับ
ได้รับการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกคน ภาคีเครือข่าย หรือชุมชน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้นวัตกรรม “โสมนัสสร้างพลเมืองดี” Spirit ' S Quality School ประสบความสำเร็จ เป็นที่ยอมรับสอดคล้องกับแผนพัฒนาสถานศึกษา และสอดคล้องกับการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาตรงตามเป้าหมายในการพัฒนาการศึกษา และผู้เรียนอย่างยั่งยืน
ข้อเสนอแนะและแนวทางใหม่ในการนำนวัตกรรมไปใช้
ต้องสร้างความเข้าใจให้กับบุคลากรเกิดความตระหนัก และเห็นความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างความสำเร็จร่วมกัน
มีการพัฒนาส่งเสริมผู้เรียนและบุบุคลากรให้รับการพัฒนาและประเมินตนเองความเป็นพลเมืองดีอย่างต่อเนื่อง โดยมีครู และผู้ปกครองร่วมมือประสานความสำเร็จต่อกัน
ส่งเสริมการมีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองที่ดีอย่างเป็นรูปธรรม สร้างการมีส่วนร่วม พร้อมแก้ปัญหา และรับผิดชอบร่วมกันด้วยความร่วมมือร่วมใจ เสียสละ อุทิศตนเพื่อส่วนรวม
3) โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 60 จังหวัดเชียงใหม่ กับนวัตกรรม DEKDOI Model (เด็กดอย โมเดล) เป็นนวัตกรรมบริหารหลักสูตรฐานสมรรถนะระดับประถมศึกษา เพื่อให้นักเรียนมี skill of life Sporting Careers และ Morality
ความเป็นมาของโรงเรียน
สังกัดสำนักงานบริหารงานการศึกษาพิเศษ เปิดทำการสอนตั้งแต่ประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เป็นโรงเรียนประเภทอยู่ประจำ เข้าเรียนตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ที่ให้โอกาสทางการศึกษาสำหรับเด็กด้อยโอกาสทั้ง 10 ประเภท (ประกาศตามกระทรวงศึกษาธิการ) และ 11 ชาติพันธ์ุ
เด็กด้อยโอกาส 10 ประเภท ได้แก่ 1. เด็กยาก (มากเป็นพิเศษ) 2. เด็กที่มีปัญหาเกี่ยวกับยาเสพติด 3. เด็กที่ถูกทอดทิ้งและกำพร้า 4. เด็กที่ถูกทำร้ายอย่างทารุณ 5. เด็กที่ได้รับผลกระทบจากโรคเอดส์หรือโรคติดต่อร้ายแรงฯ 6. เด็กในชนกลุ่มน้อย 7. เด็กเร่ร่อน 8. เด็กที่ถูกบังคับให้ขายแรงงานฯ 9. เด็กที่อยู่ในธุรกิจบริการทางเพศ 10. เด็กในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กฯ
เด็กชาติพันธ์ุ 11 ชาติพันธ์ุ ได้แก่ กะเหรี่ยง ม้ง พื้นราบ เมี่ยน ลาหู่ ลีซู ถิ่น จีนฮ่อ อาข่า ไทยใหญ่
วิสัยทัศน์ของโรงเรียน
“เป็นสถานศึกษาที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีความรู้ มีทักษะอาชีพ ทักษะชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อยู่ในสังคมโลกอย่างมีความสุข” โดยเปรียบเสมือนบ้านมีพ่อครู แม่ครู คอยให้คำปรึกษา อบรม สั่งสอน อยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวใหญ่ในเรือนนอนและในชั้นเรียน มีน้ำใจ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ซึ่งมีระบบพี่ดูแลน้อง
นวัตกรรมเด็กดอยโมเดล คืออะไร
D - Driven การขับเคลื่อนองค์กร เป็นพื้นที่นวัตกรรมที่ทันสมัย โดยส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะการดำรงชีวิต กีฬา อาชีพ ควบคู่ไปกับคุณธรรม “Driven Innovation Space with Morality”
E - Execute ดำเนินการให้ผู้บริหาร ครู นักเรียนเป็นนวัตกรมืออาชีพ มีหลักสูตรบูรณาการเหมาะสมกับผู้เรียน สร้างแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนที่หลากหลาย ใช้เทคโนโลยีทันสมัย เรียนรู้ตามความถนัดและสนใจจากท้องถิ่น และวัฒนธรรมชาติพันธุ์
K - Knowledge การพัฒนาความรู้ในสถานศึกษา สร้างให้ผู้เรียนเป็นนวัตกรน้อย มีพัฒนาการในทุกๆ ด้าน อย่างมีคุณภาพ และพัฒนาให้โรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างแท้จริง
D - Develop การพัฒนาผลงานนวัตกรรมเป็นที่ประจักษ์ และปฏิบัติงานโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ ส่งผลต่อการประกันคุณภาพการศึกษาทั้งภายในและภายนอกอย่างมีประสิทธิภาพ
O - Opportunity เปิดโอกาสให้คณะร่วมกันตัดสินใจ ตรวจสอบการปฏิบัติงาน ตลอดจนการดำเนินงาน เพื่อแก้ไขปัญหากิจกรรมต่างๆ ในสถานศึกษา
I = Improve การปรับปรุงแนวคิด วิธีการ และขั้นในการทำงานใหม่ๆ ในการพัฒนาระบบให้มีประสิทธิภาพ และนำไปสู่เป้าหมายที่กำหนดร่วมกัน
กรอบแนวคิดในการพัฒนานวัตกรรม DEKDOI
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรระดับประถมศึกษา เพื่อพัฒนาครูและผู้เรียน
แบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอนได้แก่
1. การศึกษาขั้นพื้นฐาน : บริบทโรงเรียน / สภาพปัญหา / ความต้องการชุมชน
2. การออกแบบหลักสูตร : กำหนดรูปแบบหลักสูตร / กำหนดโครงสร้างหลักสูตร (พื้นฐาน/บูรณาการ/กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน)
3. การใช้หลักสูตร
4. การประเมินผลหลักสูตร (ทั้งสมรรถนะ + ความรู้แกนกลาง)
5. ปรับปรุงแก้ไขเปลี่ยนแปลงหลักสูตร
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
เด็กมีความสุขจากปรับการเรียน เปลี่ยนการสอน
ครูได้นวัตกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียน
ทั้ง 3 โรงเรียนคือต้นแบบของการสร้างนวัตกรรมที่แก้ปัญหาของโรงเรียนได้จริง ซึ่งหากโรงเรียนใดสนใจศึกษานวัตกรรมอื่นๆ เพิ่มเติม สามารถอ่านได้ที่ https://www.futureedfest.com/
Kommentare